วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561








หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา

ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
1. ความเป็นมา
วรรณคดีเรื่อง ราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา เป็นการทำสงครามระหว่างพม่ากับมอญ เดิมต้นฉบับเป็นภาษามอญ แต่เนื่องจากเนื้อเรื่องมีความสนุกน่าสนใจ ให้ข้อคิดมากมายจึงได้มีนักปราชญ์ชาวไทยแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ตั้งแต่ก่อนเสียกรุงเสียอยุธยาครั้งสุดท้าย ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 1 ทรงมีพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลและเรียบเรียงให้เรียบร้อยเสร็จสมบูรณ์อีกครั้ง
2. ผู้เรียบเรียง
เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
3. ประวัติและผลงาน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเคยรับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ผลงานที่สำคัญของท่านได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมห่เวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมาร และ
กัณฑ์มัทรี) บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์
ท่านถึงแก่ อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2348
4. ลักษณะคำประพันธ์
เป็นวรรณคดีร้อยแก้วแนวนิทานอิงประวัติศาสตร์
5. จุดประสงค์ในการแต่ง
รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์ที่จะใช้วรรณคดีเรื่องนี้จดจำไว้เป็นคติบำรุงสติปัญญา
6. ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1. คนดีมีความสามารถแม้อยู่ในเมืองศัตรูก็ยังมีคนเชิดชูได้เสมอ
2. ผู้เป็นกษัตริย์ย่อถือความสัตย์เป็นสิ่งประเสริฐที่สุด
3. ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เช่น กามะนี
4. ผู้ทีทำกิจโดยอาศัยปฏิภาณไหวพริบและความสามารถเฉพาะตนจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้
5. บ้านเมืองที่ประกอบไปด้วยกษัตริย์ ที่อยู่ในความสัตย์ เสนาอำมาตย์มีความสามัคคี เชื่อฟัง
ผู้บังคับบัญชา และทหารที่มีความสามารถในการรบจัดเป็นบ้านเมืองที่แข็งแกร่ง เป็นที่เกรงขามของ
ประเทศทั่วไป และจะสามารถดำรงเอกราชไว้ตราบนานเท่านาน
แผนภูมิแผนภาพโครงเรื่อง
เรื่อง ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
ตัวละครสำคัญ พระเจ้ากรุงต้าฉิง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง กามะนี สมิงพระราม
ตัวละครประกอบ โจเปียว หญิงหม้าย โหร ผู้คุมสมิงพระราม นายทัพ นายกอง
เสนาบดี
สถานที่ กรุงจีน กรุงบุระอังวะ
เวลา กลางวัน
ปัญหาของเรื่อง
1. พระเจ้ากรุงจีนมีทหารเอกคือกามะนี มีฝีมือในการใช้ทวนมาก จึงอยากให้กามะนีได้ ประลองฝีมือกับทหารของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง กษัตริย์พม่า
2. สมิงพระรามเป็นทหารของพระเจ้าราชาธิราช เจ้าเมืองหงสาวดี รับอาสาออกต่อสู้กับ
กามะนีเพื่อตัดไฟแต่ต้นลม คือ ป้องกันพม่าไว้ก่อน เพราะถ้าพม่าแพ้จีน จีนต้องรุกรานมาถึงหงสาว
เนื้อเรื่องย่อ
พระเจ้ากรุงต้าฉิงแห่งประเทศจีน ยกทัพมาล้อมกรุงอังวะ ต้องการให้พระเจ้ามณเฑียรทอง ออกไปถวายบังคม และขอให้ส่งทหารออกมาขี่ม้ารำทวนต่อสู้กันตัวต่อตัวกับกามะนีทหารเอกของเมืองจีนถ้าฝ่ายกรุงรัตนบุระอังวะแพ้ต้องยกเมืองให้ฝ่ายจีน แต่ถ้าฝ่ายจีนแพ้จะยกทัพกลับทันทีพระเจ้ากรุงอังวะ ประกาศหาผู้ที่จะอาสาออกไปรบกับกามะนี ถ้าสามารถรบชนะกามะนีทหารเอกของเมืองจีน จะโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราชและแบ่งสมบัติให้กึ่งหนึ่ง เมื่อสมิงพระรามทราบข่าว ก็คิดตึกตรองว่า หากจีนชนะศึกครั้งนี้ จีนคงยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีของตนต่อไปแน่ ควรคิดป้องกันไว้ก่อนจึงอาสาออกรบ แม้แรกๆ จะเกรงว่าการอาสารบนี้จะเป็น
“หาบสองบ่า อาสาสองเจ้า”ก็ตาม โดยขอพระราชทานม้าฝีเม้าดีตัวหนึ่ง และได้เลือกม้าของหญิงม้าย สมิงพระรามนำม้าออกไปฝึกหัด ให้รู้จกทำนองรบรับจนคล่องแคล่วสันทัดดี พร้อมทั้งทูลขอ ขอเหล็กและตะกรวยผูกข้างม้าในระหว่างการรบ สมิงพระรามเห็นว่า กามะนีมีความชำนาญด้านการรบเพลงทวนมาก และยังสวมหุ้มเกราะไว้แน่นหนา สมิงพระรามจึงใช้อุบายว่าให้แต่ละฝ่ายแสดงท่ารำให้อีกฝ่ายรำตามก่อนที่จะต่อสู้กัน ทั้งนี้เพื่อจะคอยหาช่องทางที่จะแทงทวนให้ถูกตัวกามะนีได้ เมื่อได้หลอกล่อให้กามะนีรำตามในท่าต่าง ๆ จึงได้ช่องใต้รักแร้กับบริเวณเกราะซ้อนท้ายหมวกที่เปิดออกได้ สมิงพระรามจึงหยุดรำให้ต่อสู่กันโดยทำทีว่าสู้ไม่ได้ ขับม้าหนีของกามะนีเหนื่อย เมื่อได้ทีก็สอดทวนแทงซอกใต้รักแร้ แล้วฟันย้อนกลีบเกราะตัดศีรษะของกามะนีขาด แล้วเอาขอเหล็กสับใส่ตะกรวยโดยไม่ให้ตกดิน นำมาถวายพระเจ้ามณเฑียรทองเมื่อฝ่ายจีนแพ้ พระเจ้ากรุงจีนก็สั่งให้ยกทัพกลับตามสัญญา พระเจ้ามณเฑียรทองพระราชทานตำแหน่งมหาอุปราชและพระราชธิดา ให้เป็นบาทบริจาริกาแก่สมิงพระรามตามที่ได้รับสั่งไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น